ประวัติความเป็นมา
การมีหน่วยงานเขตเกษตรเศรษฐกิจในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สืบเนื่องมาจากสภาบริหารคณะปฏิวัติ ได้มีมติเมื่อ 19 ตุลาคม 2515 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกองเศรษฐกิจการเกษตรในสมัยนั้น พิจารณาแบ่งพื้นที่ประเทศไทยตามอาณาเขตจังหวัด ออกเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ จำนวน 19 เขต ซึ่งเขตเกษตรเศรษฐกิจตามนัยแห่ง พ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 หมายความถึงเขตการผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมถึงการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสภาวะการผลิตการตลาด รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยคำนึงถึงสภาพที่คล้ายคลึงกันของปัจจัยการผลิต เช่น ดิน ฟ้า อากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ประเภทของเกษตรกรรมและรายได้รายจ่ายหลักของเกษตรกร




ปี 2530 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดแบ่งพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจจาก 19 เขต มาเป็น 24 เขต มีสภาพเป็นหน่วยงาน 24 หน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยเป็นองค์กร
ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็น “ตัวแทน” ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ไปจัดตั้งในส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับการอนุมัติงบประมาณด้านครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดสร้างสถานที่ตั้งเขตอย่างเป็นการถาวรให้แต่ละเขต รวมทั้งจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งงบประมาณประจำปีจำนวนหนึ่งไปปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้มีภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิมนอกจากการเก็บข้อมูลการเกษตร
คือ การศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจการเกษตรของสินค้าเกษตรในท้องถิ่น การสำรวจติดตามประเมินผลร่วมกับส่วนกลาง และการประสานแผนพัฒนาระดับจังหวัด รวมทั้งการวิเคราะห์แผนพัฒนาการเกษตรตามสภาพทรัพยากรในพื้นที่
ต่อมาในปี 2545 ภายใต้การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 นั้น มีผลทำให้การแบ่งส่วนราชการเขตเกษตรเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมมี 24 เขต มาจัดตั้งเป็นสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 – 9 โดยแต่ละเขตมีฐานะเป็นกอง และหนังสือสำนักงาน กพ. ที่ นร. 1009/33 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 เรื่อง การกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร